ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อควิชาเคมีของนส.อุบลรัตน์ พิมเสน เลขที่42 ชั้นม.4/2

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โมแลลิตี

       เป็นหน่วยความเข้มข้นที่ใช้บอก “ จำนวนโมลของตัวถูกละลายที่มีอยู่ในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม หรือ 1000 กรัม”
มีหน่วยเป็นโมลต่อกิโลกรัม  
           ใช้สัญลักษณ์เป็น  “m”
เช่น
         สารละลายกรด HNO3    1  m  หมายความว่าในน้ำ  1 กิโลกรัม มีกรด HNO3 ละลายอยู่   1  โมล
        สารละลาย NH3    0.02 โมล/กิโลกรัม หมายความว่าในน้ำ   1000    กรัม มี NH3 ละลายอยู่ 0.02 โมล

ตัวอย่างการคำนวณ
1. ถ้าต้องการสารละลาย  CaCl2   เข้มข้น    3  m    จาก   CaCl2     22.2   กรัม   จะต้องใช้น้ำจำนวนเท่าใด    กำหนด มวลอะตอมของ Ca = 40  , Cl = 35.5
วิธีทำ
       สารละลาย  CaCl2   เข้มข้น    3  m   หมายถึง   ในตัวทำละลาย  1000    กรัม  มี  CaCl 2     3  mol  
       ในตัวทำละลาย  1000  กรัม มี  CaCl2     3  x 111  กรัม
          ถ้าใช้  CaCl2   333  กรัม       จะใช้น้ำ (ตัวทำละลาย )     1000   กรัม
       มี  CaCl2   22.2   กรัม            จะต้องใช้น้ำ          กรัม


      CaCl2   22.2   กรัม                 จะต้องใช้น้ำ      66.67  กรัม
ตอบ  ใช้  CaCl 2     22.2  กรัม  ละลายน้ำจำนวน   66.67  กรัม   จะได้สารละลายเข้มข้น   3   m

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น